• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่เหตุใดจึงมีธนาคารกลาง?

เหตุใดจึงมีธนาคารกลาง?

ยุคสมัยสถานะเป็นธนาคารกลางเต็มรูปแบบ : ตั้งแต่ประมาณช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มต้นเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาครัฐในประเทศต่างๆ ต้องการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับนโยบายการคลัง ทำให้ธนาคารกลางในหลายประเทศได้รับการสถาปนาเป็น “องค์กรเพื่อการดำเนินนโยบายสาธารณะ” และทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งก้าวข้ามจากความเป็นธนาคารเอกชนมาเป็นธนาคารภาครัฐ (ภาครัฐเข้าไปซื้อหุ้นในธนาคารกลางจากภาคเอกชนทั้งหมด) ซึ่งดำเนินงานโดยไม่แสวงหากำไร แตกต่างจากสถานะความเป็นธนาคารพาณิชย์เดิม
นอกจากนี้ ในยุคสมัยดังกล่าว ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังได้รับอำนาจในการพิมพ์ธนบัตร เพื่อใช้ในการชำระหนี้ตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว (legal tender) เหตุผลสำคัญเป็นเพราะภาครัฐต้องการให้ธนาคารกลางมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการควบคุมปริมาณเงินตรา (money supply) ในฐานะที่ธนาคารกลางเป็นผู้ให้กำเนิดเงินตรานั่นเอง ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า ในยุคสมัยนี้ ธนาคารกลางได้พัฒนาบทบาทเป็นธนาคารกลางเต็มรูปแบบคือมีคุณสมบัติ 1) เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย 2) เป็นธนาคารภาครัฐที่มุ่งประโยชน์สาธารณะ (public interest) ไม่ใช่ประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และ 3) มีอำนาจในการพิมพ์ธนบัตรและควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
ยุคสมัยธนาคารกลางปัจจุบัน : ประมาณช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลส่วนมากบังคับ ให้ธนาคารกลางในประเทศของตนพิมพ์เงินออกมาเพื่อใช้จ่ายในการทำสงคราม ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในหลายประเทศ สะท้อนว่าการพิมพ์เงินออกมามากโดยไม่คำนึงถึง “วินัยทางการเงิน” ย่อมก่อให้เกิดหายนะ คือ ภาวะที่ค่าของเงินด้อยลง ทำให้ในยุคสมัยนี้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับ“การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน” (monetary stability) เป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง เพื่อการรักษา เสถียรภาพทางการเงินดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารจะต้องมีอิสระ (central bank independence) เนื่องจากธนาคารกลางเป็นผู้ให้กำเนิดเงินตรา ขณะที่รัฐบาลคือผู้ใช้จ่ายเงินตรานั้นในการดำเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ กล่าวคือ เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และบรรลุ “การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน” ได้ จึงจำเป็นต้องแยก “ผู้พิมพ์เงิน” ออกจาก “ผู้ใช้เงิน” อย่างเด็ดขาดนั่นเอง นอกจากนี้ ในยุคปัจจุบัน ยังเกิดการพัฒนาบทบาทสำคัญต่างๆของธนาคารกลางหลายแห่งนอกเหนือจากบทบาทหลักข้างต้น อาทิ การกำกับและดูแลสถาบันการเงิน (regulation and supervision) การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน (financial literacy) การตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (customer protection) รวมไปถึงการวางแผนแม่บททางการเงินในระยะยาว (financial landscape) อีกด้วย

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]