สถาบันการพัฒนาการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development – IMD) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสวิตเซอร์แลนด์เปิดเผยรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโลกประจำปี 2567 (The World Competitiveness Yearbook – WCY) โดยระบุว่า สิงคโปร์ติดอันดับ 1 ในฐานะประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก จากการจัดอันดับประเทศต่าง ๆ จำนวน 67 ประเทศ รองลงมาคือสวิตเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์ และฮ่องกง เป็นต้น
รายงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสิงคโปร์สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลกในปี 2567 ได้สำเร็จ หลังจากที่เคยอยู่ในอันดับ 4 ของโลกในปี 2566
ส่วนประเทศไทยติดอันดับที่ 25 ของโลกในปี 2567 ไต่ขึ้น 5 อันดับจากปี 2566 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 30 และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยไทยถือเป็นประเทศที่มีความคืบหน้ามากที่สุดเมื่อพิจารณาจากปัจจัย 4 ประการที่ IMD ใช้ในการคำนวณเพื่อให้คะแนนในการจัดอันดับในครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ไทยได้อันดับที่ 5 ด้วยคะแนน 64.3 (ปี 2023 อยู่ลำดับที่ 16) ตัวอย่างปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการจัดลำดับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ เช่น การค้าระหว่างประเทศเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้านการจ้างงาน เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ไทยได้อันดับที่ 20 ด้วยคะแนน 62.0 (ปี 2023 อยู่ลำดับที่ 24) ตัวอย่างปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการจัดลำดับด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการ ทัศนคติและค่านิยม เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ไทยได้อันดับที่ 24 ด้วยคะแนน 55.1 (ปี 2023 อยู่ลำดับที่ 23) ตัวอย่างปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการจัดลำดับด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เช่น การคลังภาครัฐ นโยบายภาษี กรอบการบริหารภาครัฐ เป็นต้น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ไทยได้อันดับที่ 43 ด้วยคะแนน 40.2 (ปี 2023 อยู่ลำดับที่ 43) ตัวอย่างปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการจัดลำดับด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงสร้างด้านเทคโนโลยี สาธารณูปโภคพื้นฐาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
สำหรับ 30 อันดับแรกของประเทศที่ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลกประจำปี 2567 มีดังนี้;
1. สิงคโปร์
2. สวิตเซอร์แลนด์
3. เดนมาร์ก
4. ไอร์แลนด์
5. ฮ่องกง
6. สวีเดน
7. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
8. ไต้หวัน
9. เนเธอร์แลนด์
10. นอร์เวย์
11. กาตาร์
12. สหรัฐอเมริกา
13. ออสเตรเลีย
14. จีน
15. ฟินแลนด์
16. ซาอุดีอาระเบีย
17. ไอซ์แลนด์
18. เบลเยียม
19. แคนาดา
20. เกาหลีใต้
21. บาห์เรน
22. อิสราเอล
23. ลักเซมเบิร์ก
24. เยอรมนี
25. ไทย
26. ออสเตรีย
27. อินโดนีเซีย
28. สหราชอาณาจักร
29. สาธารณรัฐเช็ก
30. ลิทัวเนีย
โดย รัตนา พงศ์ทวิช/กัลยาณี ชีวะพานิช
คลิก
Cr.Bank’s Scholarship Students
————————————————————————————-
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you
“สิงคโปร์” คว้าที่ 1 ขีดความสามารถในการแข่งขันโลกปีนี้ “ไทย” ไต่ขึ้นสู่อันดับ 25
REVIEW OVERVIEW
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]