• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่6 วิธีรับมือค่าเงินบาทผันผวน

6 วิธีรับมือค่าเงินบาทผันผวน

เงินบาทในช่วงนี้ดูจะผันผวนค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือประกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาท โดยมี 6 วิธีรับมือความผันผวน
ในช่วงเวลานี้ค่าเงินบาทค่อนข้างผันผวน และร่วงอ่อนค่าอย่างรุนแรง รวดเร็ว ทำให้อาจกระทบต่อผู้ประกอบการที่นำเข้าและส่งออกสินค้าได้ เพราะไม่อาจคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารต้นทุนจากค่าเงินและอาจทำให้มีผลต่อกำไรหรือขาดทุนได้
อัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าเงิน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 36.20 บาท ณ วันที่ 7 ม.ค.65 ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและนำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้
อัตราแลกเปลี่ยนอยู่เหนือการคาดเดา มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา แม้แต่นักค้าเงินก็อาจขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ ผู้นำเข้าส่งออกจึงไม่ควรคาดเดาทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือ คือ “การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน”

ทำไมผู้ประกอบการควรบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน?
1.การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีเงินทุนหมุนเวียนน้อย
2.ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความเสี่ยงที่สามารถจัดการได้
3.การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่หมายถึงทำให้ทราบว่าจะสามารถแลกเงินที่อัตราใด ซึ่งช่วยให้สามารถคาดการณ์รายได้และรายจ่ายได้ล่วงหน้า เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน
“ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ” ได้แนะนำ 6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงินที่ผู้ประกอบการควรรู้ โดยภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงิน มีอะไรบ้าง?
1.Forward การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร
2.Options การประกันค่าเงิน
3.Futures การทำสัญญาล็อกเรทล่วงหน้าผ่านตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX)
4.Foreign Currency Deposit (FCD) การเปิดบัญชีฝากเงินตราต่างประเทศ
5.Natural Hedge การจับคู่รายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
6.Local Currency การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน

“แบงก์ชาติ” ยังบอกว่า ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลหากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]