• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่‘น้ำมันแพง’ ซ้ำเติมเศรษฐกิจ

‘น้ำมันแพง’ ซ้ำเติมเศรษฐกิจ

“…ถ้าน้ำมันวิ่งไปที่ 100 เหรียญ จะทำให้ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่งเพิ่ม และมีโอกาสที่เงินเฟ้อจะวิ่งไปถึง 4% ได้ จากเดิมที่เรามองไว้ที่ 2% กว่าๆ ขณะที่น้ำมันที่ระดับ 100 เหรียญ จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่เติบโตต่ำกว่า 3% และเงินที่รั่วออกไป ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหวของเศรษฐกิจไทย…”
จับตาราคา ‘น้ำมันแพง’ กระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน จากปัจจุบันที่ประเทศเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อจากสินค้าราคาแพงอยู่แล้ว โดยเฉพาะฝั่งอาหาร เช่น หมู ไก่ และอาหารที่ทานนอกบ้าน ที่มีราคาแพงขึ้น
“ถ้าน้ำมันวิ่งไปที่ 100 เหรียญ จะทำให้ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่งเพิ่ม และมีโอกาสที่เงินเฟ้อจะวิ่งไปถึง 4% ได้ จากเดิมที่เรามองไว้ที่ 2% กว่าๆ ขณะที่น้ำมันที่ระดับ 100 เหรียญ จะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่เติบโตต่ำกว่า 3% และเงินที่รั่วออกไป ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหวของเศรษฐกิจไทย”

แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลจะมีมาตรการตรึงระดับราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค.2565 แต่ภาคการผลิตยังคงมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และคงต้องติดตามว่ารัฐบาลจะตรึงระดับราคาน้ำมันได้นานเพียงใด เพราะยิ่งมีการตรึงราคาน้ำมันนานเท่าใด กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะขาดทุนมากขึ้น
“เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องไปดูว่า การอุดหนุนราคาน้ำมัน โดยวิธีการตรึงราคาเป็นการทั่วไป จะคุ้มค่าหรือเปล่า หรือจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด แล้วรัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะจุด เช่น การเข้าไปดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงๆอย่างผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น”
“ปัจจุบันราคาน้ำมันในประเทศอยู่ที่ 30-40 บาท/ลิตร ส่วนดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของภาคขนส่งนั้น แม้รัฐบาลจะตรึงราคาให้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร แต่ราคายังสูงกว่าเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา อินโดนีเซีย และเวียดนาม ราว 2-4 บาท/ลิตร และแพงกว่าประเทศมาเลเซียถึง 13 บาท/ลิตร ต้นทุนภาคขนส่งของไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ขณะที่สาเหตุของน้ำมันแพงว่า มาจากการกำหนดโครงสร้างราคาของรัฐที่ให้อิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์แล้วยังให้บวกค่าขนส่งเสมือนนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ ทั้งที่จริงๆ แล้วประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปใช้ในประเทศได้พอเพียง จนปัจจุบันยังถึงขั้นเหลือพอส่งออกด้วย”

สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอรัฐบาล
– ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท / ลิตร
– ยกเลิกการใช้ E85 และ B20
– ให้ปรับราคาน้ำมันไม่เกิน 2 ครั้ง / เดือน
– ราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น ห้ามบวกค่าขนส่งเทียม
– ดูแลค่าการกลั่น และค่าการตลาดให้ใกล้ชิด
– เปิดเผยราคาน้ำมันตลาดต่างประเทศ ที่ใช้อ้างอิง
– เปิดเผยโครงสร้างราคาดีเซลพรีเมียม
– ดูแลราคาสินค้าบริการอย่าให้เอาเปรียบประชาชน

ผลดำเนินการของรัฐบาล
– ภาษีน้ำมันยังไม่ยอมปรับลด
– ตรึงราคาดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ด้วยการใช้เงินกองทุนน้ำมันอุ้มราคา
– การใช้เอทานอลผสมในเบนซินยังเหมือนเดิม
– การใช้ B100 ผสมในดีเซล ยกเลิก B10 B20 ชั่วคราว เหลือจำหน่ายชนิดเดียวกันคือ B7
– โครงสร้างราคาน้ำมันยังให้บวกค่าขนส่งเทียมเหมือนเดิม
– มีการติดตามค่าการตลาดระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงชั้นควบคุม (เบนซิน 1.85 บาท/ลิตร ดีเซล 1.40 บาท/ลิตร)

ทั้งนี้ ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา รัฐมีรายได้จากการจัดภาษีสรรพสามิตน้ำมันสูงกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี และรัฐบาลไม่ได้นำภาษีที่เก็บได้ไปอุดหนุนหรือพัฒนาบริการขนส่งมวลชนอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถสาธารณะแต่อย่างใด
“รัฐบาลไม่ยอมลดราคาภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง แต่กลับใช้เงินจากกองทุนน้ำมันมาพยุงราคาแทน ส่งผลให้ต้องกู้เงินเพิ่ม 2-3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมาใช้พยุงราคาน้ำมัน และอาจกลายเป็นการกู้เงินต่อเนื่องที่ไม่จบสิ้น”

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]