Digital Bant เป็นหนึ่งใน Central Bank Digital Currency (CBDC) สกุลหนึ่ง ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีประเด็นในเรื่องความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมที่จะต้องพิจารณา อย่างไรก็ตาม Digital Bant ไม่ใช่ Cryptocurrency อย่างที่ทุกคนคุ้นเคย มีลักษณะเด่นหลาย ๆอย่างที่ค่อยข้างแตกต่าง เช่น ผู้ควบคุม, การเปิดเผยตัวตน, วัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความผันผวน
CBDC ไม่อาจเข้ามาแทนที่ Cryptocurrency ได้ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน รวมถึงความไร้ตัวกลางของ Cryptocurrency ทำให้การออกกฎหมาย เพื่อแบนการใช้งานทำได้ค่อนข้างยาก เงินดิจิทัลเริ่มถูกยอมรับมากขึ้นทั่วโลก และสิ่งที่กำลังน่าสนใจเป็นอย่างมากในช่วงนี้ก็คือการที่หลายประเทศหันมาพัฒนา ”สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDC ” เป็นของตัวเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็เป็นหนึ่งในนั้น นั่นคือแผนการทดลองใช้ Digital Bant สำหรับประชาชนภายในไตรมาส 2 ปีหน้า
ในส่วนของตรงนี้หลายๆ คนอาจสงสัยว่า CBDC คืออะไร?
CBDC ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะคล้ายกับสกุลเงินที่เราใช้ในทุก ๆวัน เช่น ดอลลาร์ ยูโร หยวน หรือบาท แต่เปลี่ยนจากเงินกระดาษ สู่เงินในรูปแบบดิจิทัลบนเทคโนโลยี Blockchain
CBDC มีแล้วดีอย่างไร ?
ข้อดีก็คือ จะช่วยลดต้นทุนของระบบการชำระเงินในปัจจุบันที่เข้าถึงยาก และต้องผ่านตัวกลางคือ ธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้าแบงก์ชาติเข้ามาพัฒนาระบบตรงนี้เอง ก็จะช่วยลดการผูกขาดของเอกชน และสามารถปกป้องเสถียรภาพทางการเงินของประเทศด้วย
CBDC กับ Cryptocurrency เหมือนหรือต่าง ?
คำตอบคือ ไม่เหมือนกัน เพราะ Crypto ทั้ง Bitcoin Ethereum Dogecoin เป็นระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง ไม่มีผู้กำกับดูแลค่าของเหรียญขึ้นลงตามดีมาน-ซัพพลาย ทำให้มีความผันผวนสูง คนจึงนิยมใช้ในการลงทุนเพื่อเก็งกำไร
Libra ที่เป็น Stablecoin ถือว่าเป็น CBDC ไหม ?
Libra หรือ ชื่อใหม่ Diem ถือว่าเข้าข่าย Stablecoin เพราะมีการประกันมูลค่าจากเงินสดในสกุลต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ CBDC เนื่องจากออกโดยเอกชนอย่าง Facebook ไม่ได้ถูกกำกับภายใต้กฎหมายชำระเงินของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ
ประเทศที่เริ่มใช้ CBDC แล้ว
หยวนดิจิทัล (DCEP) ของประเทศจีน เริ่มใช้จริงจังแล้วใน 4 เมืองเศรษฐกิจใหม่ คือ เสิ่นเจิ้น เฉิงตู ซูโจว และ เซียงอัน กับร้านค้าชื่อดัง เช่น Starbucks, Subways และ McDonald’s และยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศที่เริ่มพัฒนา CBDC ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น สวีเดน, แคนาดา, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, กลุ่มประเทศยุโรป, แอฟริกาใต้, แม้กระทั่ง บาทดิจิทัล ของประเทศไทยนั่นเอง
วัตถุประสงค์ CBDC
CBDC ถูกออกแบบมาให้ใช้แทนเงินสด Fiat Money คือมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่ Cryptocurrency สามารถใช้สำหรับการเก็งกำไร Speculative หรือใช้แลกเปลี่ยนกันก็ได้ ไทยเราเริ่มมีการใช้ CBDC มาตั้งแต่ปี 2561 แต่ใช้ในระดับสถายันการเงิน ในการโอนเงินล็อตใหญ่ระหว่างแบงก์ และทดลองโอนเงินข้ามประเทศร่วมกับธนาคารกลางฮ่องกง เพียงแต่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้ในวงการกว้างกับภาคประชาชน