สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDC ซึ่งย่อมาจาก Central Bank Digital Currency ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นสกุลเงินดิจิทัลของรัฐ เพราะผู้ออกคือ ธนาคารกลางของประเทศ และบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักมันมากขึ้น
***CBDC คืออะไร?
CBDC เป็นสกุลเงินของรัฐในรูปแบบดิจิทัล จริงๆ แล้วมันก็คือธนบัตรนี่ล่ะ แต่อยู่ในรูปของดิจิทัล มันจะคล้ายกับสเตเบิลคอยน์ซึ่งถูกตรึงไว้ที่อัตราส่วน 1:1 กับสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง สเตเบิลคอยน์ชื่อดังก็อย่างเช่น Tether (USDT) นั้นดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชนที่ถือเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ออกโดยธนาคารกลาง พวกเขาถือครองสินทรัพย์เหล่านั้นเพื่อให้สเตเบิลคอยน์สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาลได้
***CBDC ทำงานอย่างไร?
บางครั้งรัฐบาลที่พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางอ้างว่า บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับ CBDC แต่ในที่สุดธนาคารกลางก็เป็นผู้คุมอำนาจเหนือเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์อย่างบล็อกเชน ในทางตรงกันข้ามคริปโทเคอร์เรนซีมีการกระจายอำนาจ โดยไม่มีอำนาจจากส่วนกลางมากำกับ อย่างเช่นที่เราคุ้นเคยกันดีคือ บิตคอยน์
***ทำไมรัฐบาลต้องการ CBDC?
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) กล่าวถึงเหตุผล 3 ประการที่ทำให้ CBDC ได้รับความนิยมมากขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลกว่า 1.ความสนใจเกี่ยวกับบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ 2.การเป็นที่อภิปรายกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นเกี่ยวกับสเตเบิลคอยน์ และ 3.การเข้ามาของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในด้านการเงิน
โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการรุกล้ำของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในด้านการเงิน เช่น Diem (ชื่อเดิมจำได้หรือไม่ Libra) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Facebook ก็ถูกสะท้อนมุมมองโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB)ในรายงานเดือนมิถุนายน 2564 ที่กล่าวว่า รัฐบาลที่หลีกเลี่ยงการแนะนำ CBDC อาจเผชิญกับภัยคุกคามต่อระบบการเงินและความเป็นอิสระทางการเงินจากเหล่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในอนาคต
Fan Yifei รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีนเอง ก็ได้กล่าวในเดือนเมษายน 2563 ว่า CBDC จะลดการใช้เงินอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากเงินที่จับต้องได้นั้นไม่ระบุชื่อ และยังสามารถปลอมแปลงได้ง่ายอีกด้วย
มาสเตอร์การ์ด ซึ่งมีส่วนได้เสียในการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดการเงินสดมากถึง 1.5% ของ GDPของประเทศ ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงสามารถประหยัดเงินได้มากขึ้นด้วยสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยรัฐบาล
สุพริศร์ สุวรรณิก นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประเทศไทย กล่าวถึงผลการศึกษา CBDC ว่าสามารถทดแทนเงินสดได้บางส่วน เป็นทางเลือกให้กับประชาชน ดีต่อผู้ใช้งานในแง่ของความรวดเร็ว พกพาสะดวก รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ มาต่อยอด เอื้อภาคธุรกิจเข้าถึง เชื่อมต่อและพัฒนาบริการทางการเงินใหม่ๆ ได้ในอนาคต มีความปลอดภัยสูงมาก
นอกจากนี้ พบว่า มีความเหนือกว่าเงินสด เพราะเป็นเงินสด 2.0 หรือเงินสดดิจิทัล เทียบกับ e-Money (เงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเติมเงินโทรศัพท์ เติมเงินรถไฟฟ้า) ก็ดูเหนือกว่าในหลายด้าน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้บริการผ่านแพลตฟอร์มที่สะดวกกว่า
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษายังพบว่าดีกว่า “สเตเบิลคอยน์” แข่งขันได้เกือบทุกมิติ โดยเฉพาะต้นทุนธุรกรรมที่ต่ำกว่า และอาจได้รับการยอมรับเป็นสื่อชำระเงินอย่างกว้างขวาง
***ประเทศใดบ้างที่ทำงานเกี่ยวกับ CBDC
ณ เดือนสิงหาคม 2564 มี 81 ประเทศ รวมถึงหน่วยงานด้านการเงิน เช่น สหภาพยุโรปที่ดำเนินโครงการ CBDC ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พวกเขาเป็นตัวแทนของ 90% ของ GDP โลก
มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่เปิดตัว CBDC จนถึงปัจจุบัน และล้วนเป็นประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมดได้แก่ 1.บาฮามาส 2.เซนต์คิตส์และเนวิส 3.แอนติกาและบาร์บูดา 4.เซนต์ลูเซีย และ 5.เกรเนดา
ส่วนใหญ่ 32 ประเทศ อยู่ในขั้นตอน “การวิจัย” และหาคำตอบว่าจริงๆ แล้วพวกเขาต้องการมี CBDC หรือไม่ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงไม่ค่อยสนใจการสำรวจดอลลาร์ดิจิทัล รัฐบาลต่างใช้เวลาศึกษาผลกระทบด้านความปลอดภัยของ CBDC และมี 16 ประเทศที่อยู่ในขั้นตอน “การพัฒนา”
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดตัวการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับเงินเยนดิจิทัลระยะแรก ซึ่งจะดำเนินการเป็นเวลา 1 ปีก่อนที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติมอีก ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้กำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ โดยคาดว่า CBDC จะเข้าสู่ขั้นตอนนำร่องในเดือนสิงหาคม 2564
ขณะนี้ 14 ประเทศอยู่ในขั้นตอนนำร่อง โดยมีหยวนดิจิทัล จากจีน ร้อนแรงสุด CBDC จีนกำลังถูกทดสอบในโลกแห่งความเป็นจริง มีการใช้ในการทำธุรกรรมมากกว่า 70.75 ล้านรายการ มูลค่า 34.5 พันล้านหยวน (5 พันล้านดอลลาร์) ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2564
e-krona ของสวีเดนยังอยู่ในระยะนำร่องในเดือนเมษายนปี 2564 ส่วนกัมพูชาได้ทดลองใช้ CBDC ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 และใครก็ตามที่มีหมายเลขโทรศัพท์ของกัมพูชาสามารถเข้าร่วมได้
CBDC นำร่องอีกรายคือ e-hryvnia ของยูเครน โดยการทดสอบ CBDC ในโลกแห่งความเป็นจริงเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2021 ในเดือนมกราคม 2021 ธนาคารกลางของประเทศได้ลงนามในข้อตกลงกับ Stellar Development Foundation ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังคริปโตเคอเรนซี Stellar(XLM)ไม่ได้บอกว่า CBDC จะอยู่บนบล็อกเชนของ Stellar หรือไม่
***อนาคตของ CBDC ประเทศต่างๆ
จีนจะเปิดตัวหยวนดิจิทัลในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2565 ที่ปักกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตามวุฒิสมาชิกสหรัฐบางคน ได้เรียกร้องให้มีการห้ามนักกีฬาชาวอเมริกัน “รับหรือใช้หยวนดิจิทัล” ในระหว่างการแข่งขัน โดยเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้เพื่อสอดส่องผู้ที่ไปเยือนจีน “ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน”
ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเหล่านั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ผู้สนับสนุน CBDC บางคนได้โน้มน้าวให้สกุลเงินดิจิทัลเป็นโซลูชันความเป็นส่วนตัว ในเดือนมิถุนายน 2563 Fabio Panetta สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ ECB แย้งว่า เงินยูโรดิจิทัลจะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเหรียญ สเตเบิลคอยน์ที่ออกโดยเอกชน เนื่องจากไม่มีส่วนได้เสียในเชิงพาณิชย์ในการจัดเก็บ จัดการ หรือสร้างรายได้จากข้อมูลของผู้ใช้
อย่างไรก็ตาม คนอื่น ๆ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านความเป็นส่วนตัวของ CBDC เนื่องจากพวกเขาเปิดโอกาสให้รัฐได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับกระแสการเงินในระดับมหภาค และที่เป็นปัญหามากขึ้นในระดับบุคคล
Mu Changchun ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางจีน ได้กล่าวไว้แล้วว่าหยวนดิจิทัลจะมี “การปกปิดตัวตนที่จำกัด” โดยการชำระเงินจำนวนเล็กน้อยจะเชื่อมโยงกับหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้ และการชำระเงินจำนวนมากขึ้นซึ่งต้องใช้ข้อมูล KYC ที่ครอบคลุมมากขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะเริ่มทดสอบการใช้งานจริง ของ CBDC สำหรับภาคประชาชน ในไตรมาส 2 ปี 2565 ในการรับแลก หรือชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงจำกัด โดยเริ่มใช้ภายใน ธปท. (Pre pilot)ก่อน และค่อยขยายสู่การใช้งานภายนอก (Pilot) ไม่เพียงเท่านี้ ธปท.จะยังเปิดให้ภาคธุรกิจ นักพัฒนา เข้ามาร่วมพัฒนานวัตกรรมด้วย
สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) คืออะไร?
REVIEW OVERVIEW
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]