• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่HSBC หนุน net zero ผ่านสินเชื่อห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ลดมลพิษสโคป 3

HSBC หนุน net zero ผ่านสินเชื่อห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ลดมลพิษสโคป 3

HSBC สนับสนุนเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ขององค์กรในไทย ด้วยสินเชื่อห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน ช่วยลูกค้าองค์กรลดก๊าซเรือนกระจก scope 3 ซึ่งเป็นขอบเขตที่ท้าทายที่สุด

หลังจากที่ประเทศไทยเข้าร่วม COP26 ก็ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญ มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจ เพราะเป็นภาคส่วนที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถือเป็นก๊าซมลพิษเรือนกระจก Greenhouse Gas (GHG) ปฐมภูมิจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจมากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ บริษัทจำนวนมากขึ้นจึงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพราะไม่เพียงต้องการที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศ แต่ยังเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับตัวตามความคาดหวังของลูกค้า นักลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแล ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำเป็นทางธุรกิจ
การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเป็นวิธีที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกถูกแบ่งออกเป็น 3 ขอบเขต (scopes)

ขอบเขตที่ 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์รโดยตรง (direct emissions) เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการใช้ยานพาหนะ (กรณีไม่ใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า), กระบวนการผลิต, การใช้สารเคมี, การเผาไหม้เชื้อเพลิงในแหล่งที่อยู่นิ่ง เช่น หม้อไอน้ำ เตาเผา และเตาเผาขยะ
ขอบเขตที่ 2 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรต่าง ๆ ก่อให้เกิดทางอ้อม (indirect emissions) เช่น ซื้อไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน และความเย็น มาใช้ในองค์กร

ขอบเขตที่ 3 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect emissions) ที่ไม่รวมอยู่ในขอบเขต 2 เกิดจากกิจกรรมที่นอกการดำเนินงานขององค์กร แต่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมขององค์กร ประกอบด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากห่วงโซ่อุปทานทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เช่น การขนส่งสินค้าและใช้ผลิตภัณฑ์ที่องค์รกรสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ การเดินทางมาทำงานของพนักงาน

ทั้งนี้ ในด้านความยั่งยืน การปล่อยก๊าซสโคปที่ 3 ถือเป็นการปล่อยก๊าซทางอ้อมจากห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ที่เป็นข้อกังวลหลักของหลาย ๆ องค์กร เพราะควบคุมได้ยากที่สุด แต่ก็ยังมีวิธีที่สามารถดำเนินการบางอย่างกับสิ่งเหล่านั้นได้

ช่วย SMEs เข้าถึงเงินทุน ใช้กับโครงการความยั่งยืน
ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ประเทศไทย เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าองค์กร ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จึงได้เปิดตัว “สินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน” (Sustainable Supply Chain Finance) ขึ้น เพื่อช่วยบริษัทต่าง ๆ นำโครงการดังกล่าวมาใช้กับซัพพลายเออร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม Scope 3 ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ที่นอกเหนือการควบคุมโดยตรงขององค์กร
“จอร์โจ กัมบา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า ความท้าทายสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับห่วงโซ่อุปทาน คือ การขาดเงินทุนและการขาดความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้ ประมาณร้อยละ 80 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนขององค์กรต่าง ๆ มาจากห่วงโซ่อุปทานของภาคธุรกิจ

ดังนั้น HSBC จึงออกสินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนบริษัทคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ของลูกค้าองค์กรของเอชเอสบีซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ให้เข้าถึงเงินทุนหมุนเวียน ที่อยู่ในรูปแบบเงื่อนไขการลดอัตราดอกเบี้ยได้

เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บริษัทคู่ค้านั้น ๆ นำเงินทุนไปใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับใช้กับโครงการด้านความยั่งยืนอื่น ๆ ได้ในวงกว้างมากขึ้น ทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของลูกค้าองค์กรของเอชเอสบีซี เพราะความพยายามของแต่ละองค์กรเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้สำเร็จ

“เอชเอสบีซีในฐานะธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทยที่ก่อตั้งในปี 1888 และได้รับการจัดอันดับให้เป็นธนาคารระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในประเทศไทยโดยนิตยสารเอเชียมันนี่ และไฟแนนซ์เอเชีย มีความมุ่งมั่นในการรังสรรค์โซลูชั่นทางการเงินเพื่อความยั่งยืนในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

โดยสินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการขับเคลื่อนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนและสนับสนุนให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนไปพร้อมกับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการค้าระหว่างประเทศและห่วงโซ่อุปทาน”

กลไก Sustainable Supply Chain Finance
กลไกของ Sustainable Supply Chain Finance ประกอบไปด้วย ผู้ซื้อ ธนาคาร และซัพพลายเออร์

ผู้ซื้อ (ลูกค้าองค์กรของ HSBC) : สามารถเลือกเกณฑ์การมีส่วนร่วมและกลไกการประเมินที่สอดคล้องกับเป้าหมายและการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ที่องค์กรตัวเองมีอยู่ และกำหนดเป้าหมายโปรแกรมไปยังซัพพลายเออร์ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อาจต้องการเงินทุนเพิ่ม

ธนาคาร (HSBC) : เป็นผู้สร้างอิมแพคโดยการเพิ่มการมีส่วนร่วมของซัพพลายเออร์ในกระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม Scope 3 ผ่านการให้สินเชื่อ Sustainable Supply Chain Finance

ซัพพลายเออร์ (คู่ค้าของลูกค้าองค์กรของ HSBC) : นำเงินทุนที่ได้รับไปใช้สำหรับโครงการลดการปล่อยคาร์บอน และการที่ซัพพลายเออร์ลงทุนในโซลูชั่นด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เข้าถึงอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงผ่านสินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

โซลูชั่นทางการเงินด้าน ESG
“กฤษฎา แพทย์เจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารเอชเอสบีซีมีความแข็งแกร่งในการสนับสนุนและจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จำเป็นสำหรับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

“เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อบูรณาการแนวคิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอย่างครอบคลุมในกลุ่มธุรกิจของธนาคาร

ทั้งนี้ เป้าหมายของ HSBC คือ การเป็นพันธมิตรด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับโซลูชั่นด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ความไว้วางใจ”

โดยปัจจุบันธนาคารเอชเอสบีซีมีโซลูชั่นทางการเงินด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และความยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยลูกค้าด้านความยั่งยืน ตลอดจนยังมีโซลูชั่นและทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG โดยเฉพาะ ที่พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการเปลี่ยนผ่านและลดการปล่อยคาร์บอนในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นทางการเงินที่เหมาะสมและครอบคลุมไปถึงห่วงโซ่อุปทานของลูกค้าด้วย

หนุนองค์กรไทยเติบโตระดับสากล
“ทุย โง้” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริการการค้าระหว่างประเทศ (HSBC Trade Solutions : GTS) ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า ฝ่ายบริการการค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ เติบโตในระดับสากล สร้างเครือข่ายใหม่ ขยายการค้าไปยังประเทศต่าง ๆ และมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิทัศน์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการค้าระหว่างประเทศของธนาคารเอชเอสบีซีช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงการค้าระหว่างประเทศได้ถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าทั่วโลก

“ในปีที่ผ่านมา ธนาคารได้อำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศให้กับลูกค้า คิดเป็นมูลค่าถึง 8.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 30.7 ล้านล้านบาท โดยลูกค้ายังได้รับประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคารกว่า 1.3 ล้านรายทั่วโลก

นอกจากนั้น การที่ธนาคารมีความสัมพันธ์อันยาวนานทั้งกับบริษัทคู่ค้าและผู้ซื้อ ยังสามารถช่วยเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับพันธมิตรที่เหมาะสม ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยง และสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกด้วย”

ธนาคารเอชเอสบีซีคาดว่า สินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนี้อาจสามารถมีส่วนช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 จากห่วงโซ่อุปทานได้ ตลอดจนยังอาจผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วย

กรณีศึกษา Walmart กับสินเชื่อ HSBC ในห่วงโซ่อุปทาน
Sustainable Supply Chain Finance ของ HSBC เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ Walmart ใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 โดย Walmart มุ่งสนับสนุนซัพพลายเออร์ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านนโยบายขององค์กรที่เรียกว่า Project Gigaton ที่เปิดตัวในปี 2017

มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนผ่านห่วงโซ่อุปทาน โดยการเชื่อมโยงซัพพลายเออร์เข้ากับเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่แพง ทั้งนี้ ซัพพลายเออร์ต้องสามารถแสดงความคืบหน้าด้านความยั่งยืนตามข้อกำหนดใน 6 เสาหลักของ Walmart ได้ คือ พลังงาน ของเสีย บรรจุภัณฑ์ ธรรมชาติ การขนส่ง และการใช้ผลิตภัณฑ์

โดย Walmart มีเครื่องมือในการวัดผลการดำเนินงานของซัพพลายเออร์ตามหลักวิทยาศาสตร์ และทำการจัดอันดับเพื่อยกย่อง แบ่งเป็น “Sparking Change” และ “Giga-Guru”

สถานะ “Sparking Change” คือ ซัพพลายเออร์ที่ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนอย่างน้อย 3 เสาหลัก และมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน และสถานะ “Giga-Guru” คือ ซัพพลายเออร์ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 และ 2 เสร็จสมบูรณ์อย่างน้อยขอบเขตละ 95%

โดยเป้าหมายในโครงการ Project Gigaton ของ Walmart คือ ลดก๊าซเรือนกระจก 1,000 ล้านเมตริกตัน (หนึ่งกิกะตัน) จากห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกภายในปี 2030 โดยหลังจากที่ Walmart นำสินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานมาใช้บูรณาการกับ Project Gigaton ของตัวเอง ก็ทำให้เกิดอิมแพ็คมากขึ้น โดยพบว่าการมีส่วนร่วมของซัพพลายเออร์ในโครงการสมัครใจนี้เพิ่มขึ้นจาก 200-300 ราย มาเป็นมากกว่า 5,000 ราย ทำให้ Walmart เข้าถึงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น

ความท้าทายที่คุ้มค่า
“ทุย โง้” กล่าวว่า เมื่อผู้ซื้อ (ลูกค้าองค์กรของ HSBC) แต่ละราย มีซัพพลายเออร์มาร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกของพวกเขาเพื่อรับสินเชื่อเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของ HSBC แล้ว สิ่งที่ผู้ซื้อต้องทำคือ การประเมิณด้าน ESG กับซัพพลายเออร์นั้น ๆ ซึ่งอาจจะมีเรื่องของต้นทุนเพิ่มขึ้นมาบ้าง

นอกจากนั้น การเริ่มทำโปรเจคใด ๆ มักจะต้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมายเข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนี้ ไม่เพียงแต่ทีมการเงิน แต่ยังมีทีมเอกสาร ทีมจัดซื้อจัดจ้าง และบางทีก็รวมถึงทีมอื่น ๆ ด้วย อีกทั้งยังต้องประสานความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ดังนั้น อาจใช้เวลาและความพยายามมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มันคุ้มค่ากับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ที่ช่วยสร้างการแข่งขันได้ดีกว่าทุนบริษัทโดยตรง

“จอร์โจ กัมบา” กล่าวสรุปว่า ความท้าทายที่ถูกกล่าวถึงข้างต้นเป็นแค่ปัญหาระดับจุลภาค แต่ปัญหาระดับมหภาคที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ลูกค้าและองค์กรบางรายคิดว่าการทำเพื่อความยั่งยืนเป็นเรื่องที่รอได้ เพราะพวกเขามองว่าสถานการณ์โลกที่ตอนนี้มีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น จึงคำนึงถึงแต่เรื่องประหยัดต้นทุนก่อน แล้วมุ่งเน้นไปที่ผลตอบแทนทางธุรกิจอย่างเดียว

“ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้แน่ใจว่าองค์กรของเรามุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนเพียงพอแล้ว เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นกุญแจสำคัญและเป็นวิถีระยะยาวที่จะช่วยต่อสู้กับความผันผวนด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม”

คลิก

Cr.ประชาชาติธุรกิจ

————————————————————————————-
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]