• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่แบบทดสอบเงินเฟ้อ..ว่าจะพุ่งขึ้นเกินไปไหม?

แบบทดสอบเงินเฟ้อ..ว่าจะพุ่งขึ้นเกินไปไหม?

พอดีว่าได้มีโอกาสงานเขียนด้านเงินเฟ้อของสตีเฟน คิงส์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจของ HSBC พบว่าน่าสนใจ จึงขอนำมาแชร์กัน โดยได้พูดถึงแบบทดสอบต่างๆ ในการสกรีนว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะมีโอกาสพุ่งขึ้นมากเกินไปในอนาคตไหม ดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง จาก 3 เหตุการณ์สำคัญ ดังต่อไปนี้
เหตุการณ์แรก: การใช้ แนวทาง Flexible Average Inflation Targeting (FAIT) ของธนาคารกลางสหรัฐ ในเดือนสิงหาคม 2020 นั่นคือ อนุญาตให้อัตราเงินเฟ้อสูงหรือต่ำกว่าเป้าหมายได้ ทว่าเมื่อเฉลี่ยกันสัก 6 เดือนต้องไม่เกิน 2% ซึ่งตรงนี้ ทำให้คนมองว่ายิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อในอนาคตจะออกมาในระดับด้านที่สูงขึ้นกว่าเดิมอีก เนื่องจากเฟดคงไม่ยอมให้อัตราเงินเฟ้อต่ำถึง 0% เนื่องจากเงินฝืดแก้ไขยากมาก แต่ยอมให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกิน 4% มากกว่า
เหตุการณ์ที่สอง: การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE แม้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะเวลาปานกลาง (3-7 ปี)ได้ ทว่าได้ไปทำลายกลไกอัตราดอกเบี้ยหรือราคาพันธบัตรของระยะเวลาต่างๆ บนเส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยลงไป ซึ่งทำให้การรู้หรือไหวตัวว่าเกิดเงินเฟ้อแบบพุ่งพรวดยากหรือล่าช้ากว่าเดิมอีก
เหตุการณ์ที่สาม: การผ่อนคลายนโยบายการคลังแบบเข้มข้นมากๆ มีโอกาสที่จะทำให้ต้องใช้การทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพื่อเป็นวิธีจ่ายคืนหนี้ของรัฐบาล ตัวอย่าง ได้แก่ วิกฤต LDI ของอังกฤษ ในยุคของริซ ทรัส และ ควาซิ ควาเทง เมื่อเมื่อ ลิซ ทรัสส์ ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำอังกฤษ ในเดือนกันยายน 2022 โดยที่ควาเทงมารับหน้าที่เป็นขุนคลัง แนวทาง Thatcherism ก็ถูกนำมาใช้ประยุกต์เป็นแนวคิด Trussonomics โดยตั้งเป้าหมายของอัตราการเติบโตของจีดีพีอังกฤษไว้ที่ร้อยละ 2.5
อย่างไรก็ดี จังหวะนี้ที่ควาเทงเริ่มต้นประกาศนโยบายการผ่อนคลายนโยบายการคลังผ่าน mini-budget หรือมาตรการลดภาษีต่อผู้เสียภาษีและภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงการยกเลิกอัตราสูงสุดของโบนัสของผู้บริหารสถาบันการการเงิน รวมถึงงบประมาณช่วยเหลือด้านบิลค่าไฟฟ้าในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อชาวอังกฤษ โดยงบประมาณทั้งหมดดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 2 ของจีดีพี
ทันทีที่มาตรการดังกล่าวประกาศออกมา ความกังวลว่าเม็ดเงินมหาศาลที่รัฐบาลอังกฤษจะทุ่มใช้จ่ายนี้จะไปซ้ำเติมต่อภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ได้ขึ้นมาสูงถึงระดับตัวเลขสองหลัก รวมถึงเศรษฐกิจอังกฤษที่ตอนนั้นทั้งธนาคารอังกฤษและสถาบันวิจัยหลายแห่งต่างยอมรับว่าได้เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะใช้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นหนทางแก้ไข ซึ่งแอนดริว ไบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษหรือบีโออี ได้ประกาศ ในวันที่ 26 กันยายน 2022 ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยแบบไม่อั้นสำหรับการประชุมนโยบายการเงินครั้งต่อไป เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้ออังกฤษกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นเป้าหมายของบีโออี นั่นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอังกฤษ ณ ตอนนั้นพุ่งแบบไม่หยุด
2. มีปริมาณเงินที่มากเกินไปในระบบหรือไม่?
โดยหากพิจารณาทั้งเหตุการณ์ Dot-com Bubble ในช่วงปี 1999 และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในช่วงซับไพร์ม จะพบว่า ในทั้ง 2 กรณีนั้น งบดุลของสถาบันการเงินสหรัฐมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ระดับการก่อหนี้ต่อสินทรัพย์ขยายตัว เมื่อธนาคารกลางเริ่มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด จากนั้น วิกฤตการเงินก็เกิดตามมา
โดยการที่ไม่เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เป็นเวลานานๆ นั้น มักจะทำให้เกิดภาพลวงตาที่ว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่สภาพที่ว่า ‘New Regime Chage’ หรือปรากฏการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจจะสามารถเติบโตได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกิดอัตราเงินเฟ้อตามมา โดยตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเข้าสู่ในโหมดขาขึ้นแบบเต็มตัวโดยที่มักจะจบลงด้วยการเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ และเมื่อธนาคารกลางเริ่มที่จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงเศรษฐกิจ แทบทุกครั้ง จะจบลงด้วยการทะยานลงของดัชนีตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์
โดยหนทางหนึ่งที่สามารถป้องกันวิกฤตการเงินได้ ก็ด้วยการทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก หรือ การทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพื่อที่จะทำให้ต้นทุนทางการเงินไม่ต่ำเกินไปจนทำให้มีการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในโครงการต่างๆ ที่เป็นการเก็งกำไรมากกว่าเป็นการลงทุนที่ได้ประโยชน์จริงๆ
นอกจากนี้ อีกดัชนีหนึ่งที่สามารถประเมินว่าตลาดได้มีการคาดหวังเศรษฐกิจว่าเติบโตมากจนเกินไป ซึ่งมักจะทำให้อัตราเงินเฟ้อที่สูงและการจะเอาลงมานั้นถือว่าค่อนข้างยาก คืออัตราการเติบโตของปริมาณเงินในด้านอุปทานของเงิน โดยในปี 1968 เป็นปีแรกๆ ที่อัตราการเติบโตของปริมาณเงิน M2 ของสหรัฐ เติบโตถึง 9% นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นเติบโตสูงสุดที่ 13.4% ในปี 1971 รวมถึงปี 1976 และ 1977 จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980 พบว่าอัตราการเติบโตของปริมาณเงินก็ลดลงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จะสังเกตได้ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่พุ่งทะยานในทศวรรษ 1970 อยู่ในช่วงที่ปริมาณเงินของสหรัฐเติบโตสูงสุดพอดีในช่วงนั้น
สำหรับกรณีที่เกิดปรากฏการณ์อัตราการเติบโตของปริมาณเงินสูงๆ มีอยู่ 2 ครั้งได้แก่ ช่วงที่เลห์แมน บราเธอร์ล้มลง ในวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้น ไม่ได้เกิดอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นแต่อย่างใด และ ช่วงเริ่มเกิดวิกฤตโควิด ที่ธนาคารกลางและรัฐบาลของประเทศต่างๆ พยายามอัดเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเพื่อป้องกันการซ้ำรอยเกิดวิกฤต Great Depression ในทศวรรษ 1930s โดยที่ปรากฏการณ์ Supply Chain Disruption และวิกฤตพลังงาน จากสงครามรัสเซียบุกยูเครน ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อทะยานพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์เงินเฟ้อพุ่งขึ้นแบบนี้ ถือว่าไม่ได้เกิดขึ้นมาในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา
3. เมื่อเศรษฐกิจเติบโตได้ดีเป็นเวลานานๆ แม้แต่นายธนาคารกลางที่มีความรู้ดีอย่างเบน เบอร์นันเก้ ยังตกอยู่ในความประมาท โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 เขาได้มองว่าเมื่อสามารถคุมเงินเฟ้อในปัจจุบันได้อยู่หมัดแล้ว จะไม่เกิดวิกฤตใดๆ ขึ้นมาอย่างแน่นอน ซึ่งคล้อยหลังเพียง 4 เดือนต่อมา ก็เกิดวิกฤตซับไพร์มขึ้นมา
4. สภาวะอุปทานของโลกที่เลวร้ายลง
โดยในระยะสั้นนั้น ปรากฏการณ์ The Great Resignation หรือการไม่ยอมกลับไปทำงานของชาวสหรัฐในตลาดแรงงานแบบถาวรหลังโควิด การเกษียณไปเลยของคนวัย 50+ เมื่อเกิดเหตุการณ์โควิด การไม่ยอมเดินทางไปต่างถิ่นเพื่อไปหางานที่ได้รับผลตอบแทนดีกว่า หรือในกรณี Brexit ชาวอังกฤษที่ไม่สามารถเดินทางไปประเทศต่างๆ ในยุโรปเพื่อทำงานได้อย่างอิสระและสะดวกเหมือนเมื่อก่อนหน้านี้ ได้ทำให้อุปทานของสินค้าและบริการของโลกลดลง จนเกิดอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งขึ้นมาในช่วงหลังโควิด
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
[email protected]
Source: efinancethai

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]