• Aetos Bonus 50000
หน้าแรกไม่มีหมวดหมู่นักเศรษฐศาสตร์ชี้ เศรษฐกิจไทยฟื้น ท่ามกลางปัจจัยรุมเร้าจาก ‘โลกเดือด’

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ เศรษฐกิจไทยฟื้น ท่ามกลางปัจจัยรุมเร้าจาก ‘โลกเดือด’

นักเศรษฐศาสตร์รับปัญหาโลกเดือด สะเทือนไทย ‘บุรินทร์’ ชี้ เศรษฐกิจไทยอยู่ภายใต้ปัจจัยรุมเร้าค่อนข้างสูงจาก Geopolitics ‘กิริฎา’ ชี้ Trade War หนุนไทย จากการย้ายฐานผลิตเข้าไทย “ฐิติมา“มองเศรษฐกิจช่วงหลังของปี น่าจะเสี่ยงมากขึ้น
ท่ามกลางหลากหลายปัจจัยที่รุมเร้า จากสถานการณ์ภาวะโลกเดือด ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย และถือเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่หลายคนมองว่า เป็นความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ทั้งจากปัญหาสงครามการค้า สงครามระหว่างประเทศต่างๆ ที่ล้วนมีผลต่อการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งสิ้น
“กรุงเทพธุรกิจ” จัดสัมมนา Investment Forum 2024 เจาะขุมทรัพย์ลงทุนยุคโลกเดือด โดยได้เปิดมุมมองถึง “ภาวะโลกเดือด” รวมถึงภาพรวม หรือผลกระทบที่จะมาสู่เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
“บุรินทร์ อดุลวัฒนะ” กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวในหัวข้อเสวนา “เศรษฐกิจไทยใต้วิกฤติโลกเดือด”​ ยอมรับว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ภายใต้ปัจจัยรุมเร้าอยู่ค่อนข้างมาก และหนึ่งในนั้นคือ “ปัจจัยกดดัน” จาก Geopolitics หรือปัญหาจากภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแต่เพิ่มสูงขึ้น
ท่ามกลางปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า ส่งผลให้ปัจจุบันโลกหันข้างไปสู่ สินเชื่อ CleanTech หรือเทคโนโลยีสะอาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ รถไฟฟ้า แผงไฟฟ้า ซึ่งเหล่านี้เป็นสินค้าที่จีนให้ความสำคัญและมาจากจีนทั้งสิ้น ส่งผลให้ การกีดกันทางการค้าจากสหรัฐมีความรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางการขึ้นกำแพงภาษีเพิ่มขึ้น
ส่งผลทำให้วันนี้จากปัญหา Geopolitics ถูกพัฒนาไปสู่ “สงครามการค้า” และไปสู่“สงคราม CleanTech” ในที่สุด ปัจจุบันความจำเป็นการในการลงทุนด้าน CleanTech ทั่วโลกอยู่ที่ 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันโลกลงทุนเพียง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น ยังมีรูมอีกมาก ทำให้ระยะข้างหน้าจะเห็นการกีดกันทางการเงินจากสหรัฐยิ่งมากขึ้น
เหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทยเช่นเดียวกัน ประเทศไทยจำเป็นต้องเกาะกระแส CleanTech เพราะยังมีหลายธุรกิจที่ต้องการปรับตัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคาร์บอนฯ หรือการต่อยอดจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
หากกลับมาดูที่ประเทศไทย มองว่าการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัว และต้องหาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อเสริมศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอินโนเวชั่น หรือเครื่องมือแพทย์ต่างๆ รวมถึงมีจำเป็นต้องลงทุนด้าน R & D รวมถึงการลงทุนด้านพลังงานสะอาด ที่ต้องมีมากขึ้น สุดท้ายแล้ว การเอื้อให้เกิดการลงทุนมากขึ้นเขามองว่า ภาครัฐเอกต้องทำหน้าที่ในการ “ลดความซับซ้อนของกฎหมาย” ให้ลดลง เพื่อทำให้ประเทศไทยแข่งขันได้ ให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น
สำหรับภาพเศรษฐกิจไทยปีนี้ มองว่า ภาพการเติบโตถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะหลังจากมีเงินลงทุนจากภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น รวมถึงจากปัญหาภายนอกประเทศ และความกังวลว่าทรัมป์จะมา ทำให้ธุรกิจเร่งการผลิต และการส่งออกมากขึ้น ดังนั้นมองว่าส่งออกปีนี้จะเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะครึ่งปีหลัง ทำให้ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ ที่ 2.6% และประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)อาจไม่ลดดอกเบี้ยในปีนี้
“เศรษฐกิจไทยวันนี้หากเราเพิ่มรายได้ไม่ได้ เราต้องลดรายจ่ายๆปัจจุบันเรามีรถยนต์อยู่ราว44ล้านคันที่วิ่งอยู่ในประเทศไทย และมีรถไฟฟ้าเพียง1% แต่ถ้าเราเปลี่ยนทุกคันเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด เราจะประหยัดการนำเข้าพลังงานกว่า 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นราว 6.6% ของจีดีพีปีก่อน ดังนั้นหากเราสามารถประหยัดได้ แม้รายได้คนไม่เพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ฝากถึงรัฐบาล”
มอง ‘เทรดวอร์’ ผลบวกต่อไทย
“กิริฎา เภาพิจิตร” ผู้อำนวยการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนาและผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก (TDRI) กล่าวว่า แม้การมาของ “ทรัมป์” อาจมุ่งเน้นในนโยบายให้สหรัฐเป็น “อเมริกาเฟิร์ส” ที่อาจสนใจประเทศอื่นๆน้อยลง ที่อาจทำให้อิทธิพลของจีนอาจแผ่ขยายวงกว้างมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการขึ้นกำแพงภาษียิ่งมีมากขึ้น ไม่เฉพาะจีน แต่อาจขยายการเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศอื่นๆด้วยเช่นจากจีน 60% ประเทศอื่นๆรวมถึงไทยอาจเพิ่มขึ้น 10% ดังนั้นเหล่านี้กระทบต่อไทยโดยตรง
แต่การมาของปัญหา Trade War อาจทำให้ประเทศไทยได้รับปัจจัยบวกเช่นเดียวกัน ทั้งจากการที่สหรัฐเข้ามาซื้อของไทยมากขึ้น หรือการย้ายฐานการผลิตของจีนเข้ามาไทย ที่เริ่มเห็นเข้ามามากขึ้น และคาดว่า จะเห็นการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาไทยอีกจำนวนมากในช่วง 12เดือนข้างหน้านี้
โดยเฉพาะจากจีน แต่หากดูการลงทุนในไทยที่ผ่านมา พบว่าอันดับหนึ่งยังมาจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน ฉะนั้นจะเห็นการลงทุนมากขึ้น และจีนอาจแซงเบอร์ 1-2 ได้ โดยอุตสาหกรรมการลงทุนที่ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในไทย เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนที่เกี่ยวกับอาหาร
“ปัจจุบันไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ทั้งการค้าการลงทุน ดอกเบี้ย หากโครงสร้างไทยไม่แข็งแรง อาจไม่สามารถต้านช็อกที่จะเข้ามาได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ ด้านการเพิ่มสกิล หรือทักษะคนให้มากขึ้น รวมถึงทำให้เอสเอ็มอีแข็งแกร่งมากขึ้น ฉะนั้นการเอื้อให้มีแหล่งทุนให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ทำให้การแข่งขันเป็นธรรมมากขึ้น”
สำหรับมุมมองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง TDRI มองว่า ครึ่งหลังปี 2567 จะเห็นการฟื้นตัวดีกว่าครึ่งปีแรก โดยทั้งปีจะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-2.8% จากแรงส่งจากส่งออก ท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ และเอกชนที่มากขึ้น
“แต่โดยรวมยังมองว่า ประเทศไทยเรายังเซ็กซี่ในการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศเข้ามาอยู่ เงินเฟ้อไทยก็ต่ำ ดอกเบี้ยก็ไม่ได้สูงหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจมหาภาคถือว่าแข็งแรงมาก ในด้านทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดติดท็อป 15ของโลก ดังนั้นด้านเศรษฐกิจมหาภาคเราไม่ได้เป็นรองใคร”
ส่วน อัตราดอกเบี้ยไทย อาจเห็นการลดลงปลายปีนี้ และปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ปัจจุบันต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และห่างกับสหรัฐ 3% ดังนั้น หากให้กนง. ลดดอกเบี้ยอาจทำให้ความห่วงดอกเบี้ยสหรัฐและไทยจะยิ่งเพิ่มขึ้น ที่อาจกดดันเงินบาทให้อ่อนค่ามากขึ้น
ดังนั้น โจทย์นี้อาจทำให้กนง.ต้องพิจารณามากขึ้น ดังนั้น หลังจากนี้อาจเห็นกนง. ลดดอกเบี้ยไม่เร็วนัก ดังนั้น การลดดอกเบี้ยของกนง. มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลังจากสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยแล้วในช่วงปลายปี
ครึ่งปีหลังไทยเสี่ยงมากขึ้น
“ฐิติมา ชูเชิด” ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหาภาค ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ​มองว่าภายใต้ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านต่ำมากกว่าด้านสูง และมองว่าเศรษฐกิจในช่วงหลังของปีน่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กนง.มองว่าอาจกดดันเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ความเปราะบางของหนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด อาจเป็นน้ำหนักที่เพิ่มเข้ามา จากที่กนง.เคยมองว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัว ซึ่งเป็นเฟกเตอร์ที่ทำให้กนง.ลดดอกเบี้ยได้หนึ่งครั้งปีนี้ และปีหน้าหนึ่งครั้ง
หากดูภาคหนี้ครัวเรือนไทยพบว่า เริ่มมีปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะด้าน K ขาล่าง หรือลงระดับล่างที่พบว่ารายได้ไม่พอรายจ่ายที่เริ่มมีมากขึ้น และพบว่าเงินเดือนต่ำกว่า 3หมื่นบาท มีรายได้ไม่พอรายจ่ายราว 80% หรือกลุ่มที่มีรายได้ 5 หมื่นบาทที่พบว่า มีพฤติกรรมการจ่ายหนี้แค่ขั้นต่ำ เพราะรายจ่ายมากขึ้น ดังนั้นเหล่านี้เป็นอาการของหนี้ครัวเรือนไทยที่สร้างความเปราะบางสำหรับเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะผู้บริโภครายย่อยเท่านั้น แต่ยังขยายวงกว้างไปสู่ธุรกิจรายย่อยมากขึ้น ที่เริ่มเห็นหนี้ภาคธุรกิจสูงขึ้น และมีรายได้ไม่พอรายจ่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นถือเป็นประเด็นที่น่าห่วงแม้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมไปได้ แต่หากดูกลุ่มระดับล่างมีความน่าห่วงมากขึ้น
โดยรวมประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5% ภายใต้การเบิกจ่ายภาครัฐที่จะเบิกจ่ายได้มากขึ้น จากตัวเลขส่งออก ท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลให้ครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยครึ่งปีหลังน่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2% และครึ่งปีหลัง 3% ส่งผลให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5% ซึ่งดีกว่าปีก่อนที่ขยายตัว 1.9%

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
————————————————————————————-
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

REVIEW OVERVIEW

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_imgspot_imgspot_imgspot_img
[td_block_1 custom_title="Review Brokers" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10" category_id="101" sort="oldest_posts"][td_block_1 custom_title="Last Post" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" m4_el="10"]